ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
คำชี้แจง: โปรดเลือกตัวเลือกของท่านตามข้อเท็จจริง
-
1. เพศ
*
-
2. สถานภาพของผู้ตอบแบบประเมินฯ
*
-
3. อายุ
*
-
4. ท่านเคยรับทราบหรือไม่ว่าผลจากติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่มีประโยชน์และโทษอย่างไร
*
-
5. ท่านมีประสบการณ์หรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือไม่
*
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
คำชี้แจง : โปรดเลือกตัวเลือกตามความคิดเห็นของท่าน
-
การรู้สึกได้รับความปลอดภัยทาง “ร่างกาย” และ “จิตใจ” ภายหลังการติดตั้งอุปกรณ์ฯ
*
ตอนที่ 3 ประชาพิจารณ์ประเด็นความเห็นเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
คำชี้แจง : โปรดเลือกตัวเลือกตามความคิดเห็นของท่าน พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง
-
3.1 การรู้สึกได้รับความปลอดภัยทาง “ร่างกาย” ภายหลังการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ TRUE
*
บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ (ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น) ได้แนบเอกสารรายงานเชิงวิชาการถึงการศึกษาผลกระทบที่เกี่ยวข้องจากการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ด้วย คือเอกสารรายงานการตรวจวัดการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ณ อาคาร PTEC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ในเอกสารทางวิชาการได้ให้ข้อมูลในประเด็นนี้ว่า แหล่งกำเนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นในธรรมชาติ เกิดจากรังสีคอสมิคของดวงอาทิตย์ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า สานามแม่เหล็กโลก หรือเกิดจากอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น จากสายส่งไฟฟ้ากำลังหม้อแปลงไฟฟ้า คลื่นโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์จากคอมพิวเตอร์ เสาส่งสัญญาณสื่อสาร สภาวะแวดล้อมในการทำงานทั่วไปไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาของสนามแม่เหล็กได้ ทั้งสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำจากสายส่งไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ เนื่องจากต้องอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ หรืออาจตลอดช่วงชีวิต
ตามมาตรฐาน ICNIRP(International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection (มาตรฐาน
ความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม) ระบุว่า หากผลการวัดความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเกินกว่าระดับที่มาตรฐานสากลกำหนด อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่ปฏิบัติงานหรืออาศัยอยู่บริเวณนั้น และจะรบกวน
การทำงานของระบบสื่อสารที่มีความอ่อนไหวต่อการถูกรบกวนได้ง่าย เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ จอมอนิเตอร์ ระบบสื่อสารโดยใช้สายตัวนำ และระบบสื่อสารไร้สาย แต่หากระดับความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดตามที่มาตรฐาน ICNIRP กำหนด จะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่ปฏิบัติงานหรืออาศัยอยู่ในบริเวณนั้น หรือมี “ความเสี่ยง” ต่อสุขภาพต่ำ
และทางบริษัทฯ ได้ทำการตรวจวัดระดับความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทุกจุดการวัดภายในอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่บริษัทฯ เคยได้ติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ ณ ชั้นดาดฟ้า 2 ตำแหน่ง ชั้น 6 จำนวน 20 จุด ชั้น 5 จำนวน 9 จุด และชั้น 1 จำนวน 3 จุด พบว่าอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับกลุ่มผู้ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั่วไปตามที่มาตรฐาน ICNIRP กำหนด แสดงถึงความปลอดภัยต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
แหล่งอ้างอิง:เอกสารหมายเลข 1 รายงานผลการตรวจวัด การแผ่คลื่นแม่เหล็กจากสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่
ดังนั้น จากที่บริษัทฯ ได้แสดงข้อมูลให้เห็น ภายหลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ฯ แล้ว ท่านยังมีความรู้สึกว่า ท่านได้รับความปลอดภัยทาง “ร่างกาย” ในระยะยาว สุขภาพร่างกายของท่านจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากการทำงานของอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อต้องอยู่ใกล้เป็นเวลานานทุกวัน ทั้งกรณีที่เป็นบุคคลวัยเด็ก กลางคน สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เนื่องจากบริษัทฯ ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และท่านสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อต้องอยู่ใกล้อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นระยะใกล้เป็นเวลานานทุกวัน
-
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-
3.2 การรู้สึกได้รับความปลอดภัยทาง “จิตใจ” ภายหลังการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ TRUE
*
ท่านไม่มีความวิตกกังวลว่า ในระยะยาวการทำงานของอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายถึงขั้นกระทบต่อจิตใจได้ รวมถึงท่านความรู้สึกปลอดภัยในการมาทำงานเมื่อต้องอยู่ใกล้แหล่งส่งสัญญาณเป็นเวลานานทุกวัน เนื่องจากได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ และเชื่อมั่นบริษัทฯ ในการควบคุมดูแล / ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ฯ ให้มีคุณภาพเพื่อให้ระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นไปตามที่มาตรฐาน ICNIRP กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
ท่านเชื่อมั่นในผลการศึกษาอ้างอิงระดับความปลอดภัยที่บริษัทฯ ได้แสดงตามตัวอย่างเอกสารทางวิชาการที่นำมาเสนอจึงไม่เห็นถึงแนวโน้มความเป็นไปได้ในอันตรายแฝงที่อาจมีหรือที่ยังไม่ถูกศึกษาค้นพบโดยบริษัทในระยะยาวแม้ว่าจะได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับตามมาตรฐานกำหนดแล้วก็ตาม และไม่เชื่อว่าข่าวสารสถานการณ์หรือการฟ้องร้องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการกับการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันมีเหตุมาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกส่งออกไปจากอุปกรณ์ฯ นี้ หรือจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีผลต่อท่านจริงเช่น
1. อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายสุพล สุขศรีมั่งมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ยื่นฟ้องบริษัทแอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส ต่อศาลแพ่ง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายจาก AISเป็นเงิน 200ล้านบาท การฟ้องร้องดังกล่าวมีขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยเป็นการฟ้องเพิ่มเติมต่อศาลแพ่งในคดีเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2554 ฐานละเมิดพร้อมขอให้รื้อถอนเสาอุปกรณ์และเครื่องส่งสัญญาณคลื่นความถี่โทรศัพท์แรงสูงออกจากอาคารอุรุพงษ์คอนโด กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ห่างจากที่พักนายสุพลราว 400เมตร โดยให้เหตุผลว่าเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ความจำเสื่อม โดยยกผลงานวิจัยจากประเทศฟินแลนด์และสวีเดนว่า คลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำปฏิกิริยาต่อการหดตัวและทำลายเนื้อเยื่อของช่องว่างคลื่นสมอง ทำให้เซลล์สมองบางส่วนถูกทำลาย หากเซลล์สมองถูกทำลายเป็นหย่อมๆ เรียกว่าอัลไซเมอร์ และหากได้รับคลื่นนี้ในระยะเวลานานจะเป็นหมันและมะเร็ง
แหล่งอ้างอิง:เอกสารหมายเลข 2
หนังสือพิมพ์มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332140368&grpid=01&catid=&subcatid=
2. นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 IARC หรือ International Agency for Research on Cancer หน่วยงานหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ให้เหตุผลของการจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งประเภท 2B หรือเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งแล้ว ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีระบบบลูทูธจะทำให้ผู้ใช้ได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำกว่าการใช้ผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยตรงถึง 100 เท่า และการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบมีสายหรือหูฟัง จะช่วยลดการได้รับพลังงานที่สมองลงประมาณร้อยละ 10 แต่การใช้ทั้งสองประเภทไม่ควรเกี่ยวไว้ที่หูตลอดเวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน และผลการศึกษายังพบว่า เครื่องโทรศัพท์ 3G ปล่อยพลังงานน้อยกว่าโทรศัพท์ GSM เฉลี่ยประมาณ 100 เท่า
รายงานดังกล่าวยังระบุว่า การถือโทรศัพท์แนบหูทำให้เกิดการดูดซับพลังงานที่สมอง ซึ่งปริมาณการดูดซับขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวเครื่องและเสาอากาศ ลักษณะการใช้ และระดับสัญญาณระหว่างตัวเครื่องและสถานีฐาน ที่สำคัญคือ สมองเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 2 เท่า และไขกระดูกของกะโหลกศีรษะเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 10 เท่า นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า กลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 1,640 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็งสมองชนิด Glioma หรือเนื้องอกในสมอง ข้างเดียวกับที่ใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับคลื่นสูงที่สุด
แหล่งอ้างอิง:เอกสารหมายเลข 3
หนังสือพิมพ์มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312347401&grpid=03&catid=03
-
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-
3.3 ความคิดเห็นส่วนตัวในการยอมรับให้มีการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ TRUE
*
ท่านยอมรับและเห็นด้วยที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะอนุญาตให้บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ (ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น) ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ TRUEในพื้นที่บนดาดฟ้าอาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดังนี้
- ใช้พื้นที่ว่างขนาด 3x3 ตารางเมตร จำนวน 3 จุด เพื่อติดตั้งเสารับ-ส่งสัญญาณ สูง 3 เมตร จำนวน 3 ต้น
- ใช้พื้นที่ว่างขนาด 4x4 ตารางเมตร เพื่อติดตั้งตู้ควบคุมอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ
- ระยะเวลาการใช้พื้นที่ คราวละ 3 ปี โดยทางบริษัทฯ จะขอชำระค่าเช่าสถานที่ ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ค่าใช้กระแสไฟฟ้า และผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำหนด
-
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ส่วนที่ 4 ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ
-
[คำถามแบบกล่องข้อความ]
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม กรณีตอบแบบสอบถามผ่านทางเอกสาร โปรดส่งแบบสอบถามคืนที่
“งานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา ชั้น 6 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”